ชื่อวิทยาศาสตร์ | Dendorbian thyrsiflorum Rchb.f. |
ชื่อวงศ์ | ORCHIDCEAE |
สกุล | หวาย |
ชื่ออื่นๆ | เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน (ภาคเหนือ) กับแกะ (เลย) พอพางดี (แม่ฮ่องสอน) |
ลักษณะทั่วไป กล้วยไม้อิงอาศัยลำต้นลำกลมหรือเกือบกลมเป็นสันและร่องตื้นๆตามยาวสีเขียวเข็มหรือเขียวอมน้ำตาลยาว 25-50 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-1.8 ซม. ผิวมันเล็กน้อยเป็นกอ ใบรูปรี กว้างขนาด 8-12-4-5 ซม. ปลายแหลมมน แผ่นใบค่อนข้างหน้าและเหนียวคล้ายหนัง สีเขียวเข้ม ผิวมันทิ้งใบ้เมื่อผลิดอก ช่อดอกเกิดใกล้ยอดเป็นพวงห้อยลงขนาด 18-30*7-12 ซม. ดอกในค่อนข้างแน่น ก้านดอกยาว 4-5 ซม.ขนาดดอก 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากกลมสีเหลืองและขอบกลีบ มีขนนุ่มหยักละเอียด ดอกมีกลิ่นหอมดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อและทนได้ประมาณ 1สัปดาห์
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบมากตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน และอินเดีย
*พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบมากตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน และอินเดีย
*พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น