วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เหลืองจันทบูร Dendorbian friedericksianum


                         







ชื่อวิทยาศาสตร์
Dendrobium friedericksianum Rchb.f
ชื่อวงศ์
ORCHIDCEAE
สกุล
หวาย
ชื่ออื่นๆ
เหลืองจันทบูร เหลืองนกขมิ้น



ลักษณะทั่วไป :  พบทั่วไปในป่าแถบจังหวัด จันทบุรีและตราด โดยพบเกาะอาศัย อยู่ตามต้นไม้แต่ไม่ได้ ดูดน้ำเลี้ยงหรือย่งอาหารเหมือน อย่างพวกกาฝาก เพียงอาศัยเกาะอยู่เท่านั้น เพราะเป็นกล้วยไม ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศ ออกดอกเป็น ช่อทั้งต้น ดอกบานทนนาน ออกดอกปีละครั้ง ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม กลีบดอกสีเหลืองสดเป็นมัน อาจมีแต้มสีแดง ภายในคอขนาดต่าง ๆ กัน หรือเป็นเพียงขีดสีแดง หรือไม่มีแต้มเลย ชนิดที่มีแต้มมัก เรียกว่าเหลืองขมิ้นหรือเหลืองนกขมิ้น เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นพบเฉพาระในประเทศไทย  
 *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
*ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น