เอื้องช้างน้าว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Dendorbian pulchellum. Roxb.ex.Lindl |
ชื่อวงศ์ | ORCHIDCEAE |
สกุล | หวาย |
ชื่ออื่นๆ | เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย, เอื้องตาความ,สบเป็ด,มอกคำตาความ |
ลักษณะทั่วไป : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้นสีม่วงลักษณะใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร เมื่อลำแก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือดหมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไข่ ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร พบทางภาคเหนือ
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ (ยกเว้นภาคกลาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ลาว เนปาล อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย
สถานภาพ :
*พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
*ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น