วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เข็มขาว Vanda lilacina Teijsm.& Binn


        

ชื่อวิทยาศาสตร์
Vanda lilacina Teijsm.& Binn
ชื่อวงศ์
ORCHIDCEAE
สกุล
แว้นด้า
ชื่ออื่นๆ
 กล้วยไม้หางปลา    เข็มขาว


ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง 
ช่วงออกดอก
 : มกราคม- มีนาคม
แหล่งที่พบ:พบตามป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคกลางและภาคใ
ต้
 ออกดอกเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การกระจายพันธุ์ : เมียนม่าร์

เอื้องสามปอยแพะ Vanda bensonii Bateman



ภาพ : สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ภาพ : สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

ชื่อวิทยาศาสตร์
Vanda bensonii Bateman
ชื่อวงศ์
ORCHIDCEAE
สกุล
แว้นด้า
ชื่ออื่นๆ
เอื้องสามปอยแพะ สามปอยชมพู เอื้องนกน้อย





ลักษณะทั่วไป :  ราก  เป็นแบบรากอากาศ (epiphytic) ลำต้น เรียว ใบ หนา และอวบน้ำ ใบยาว 17-20 ซม. กว้าง 2.5-3.5 ซม. ดอก เป็นช่อตังตามข้อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ20-35 ซม.แต่ละช่อมีประมาณ 5-12 ดอก กลีบดอกสีเขียวหรือสีเหลืองอมเขียว มีเส้นร่างแห (tessellation) สีน้ำตาลทั่วทั้งกลีบ ด้านหลังของกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า แผ่นปากสีม่วงแดง ก้านดอกสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 4-5 ซม.
 เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งและยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมี
13–15 ดอก ดอกสีน้ำตาล มีลายสมุกคล้ายฟ้ามุ่ย กลีบดอกหนาขอบกลีบเป็นคลื่น ด้านหลังกลีบและกระเป๋าเป็นสีชมพู ดอกห่าง รูปดอกโปร่ง ขนาด 4.4 เซนติเมตร
ช่วงออกดอก : เมษายน - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ  ช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี
การกระจายพันธุ์ : เมียนมาร์และไทย





เอื้องช้างน้าว Dendorbian pulchellum. Roxb.ex.Lindl

 เอื้องช้างน้าว  
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dendorbian pulchellum. Roxb.ex.Lindl        
ชื่อวงศ์
ORCHIDCEAE
สกุล
หวาย
ชื่ออื่นๆ
เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย, เอื้องตาความ,สบเป็ด,มอกคำตาความ




ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้นสีม่วงลักษณะใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร เมื่อลำแก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือดหมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไข่ ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร พบทางภาคเหนือ
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ (ยกเว้นภาคกลาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ลาว เนปาล อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484




เหลืองจันทบูร Dendorbian friedericksianum


                         







ชื่อวิทยาศาสตร์
Dendrobium friedericksianum Rchb.f
ชื่อวงศ์
ORCHIDCEAE
สกุล
หวาย
ชื่ออื่นๆ
เหลืองจันทบูร เหลืองนกขมิ้น



ลักษณะทั่วไป :  พบทั่วไปในป่าแถบจังหวัด จันทบุรีและตราด โดยพบเกาะอาศัย อยู่ตามต้นไม้แต่ไม่ได้ ดูดน้ำเลี้ยงหรือย่งอาหารเหมือน อย่างพวกกาฝาก เพียงอาศัยเกาะอยู่เท่านั้น เพราะเป็นกล้วยไม ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศ ออกดอกเป็น ช่อทั้งต้น ดอกบานทนนาน ออกดอกปีละครั้ง ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม กลีบดอกสีเหลืองสดเป็นมัน อาจมีแต้มสีแดง ภายในคอขนาดต่าง ๆ กัน หรือเป็นเพียงขีดสีแดง หรือไม่มีแต้มเลย ชนิดที่มีแต้มมัก เรียกว่าเหลืองขมิ้นหรือเหลืองนกขมิ้น เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นพบเฉพาระในประเทศไทย  
 *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
*ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

เอื้องม่อนไข่ Dendorbian thyrsiflorum Rchb.f.


ชื่อวิทยาศาสตร์
Dendorbian thyrsiflorum Rchb.f.
ชื่อวงศ์
ORCHIDCEAE
สกุล
หวาย
ชื่ออื่นๆ
เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน (ภาคเหนือ) กับแกะ (เลย) พอพางดี (แม่ฮ่องสอน)


 ลักษณะทั่วไป  กล้วยไม้อิงอาศัยลำต้นลำกลมหรือเกือบกลมเป็นสันและร่องตื้นๆตามยาวสีเขียวเข็มหรือเขียวอมน้ำตาลยาว 25-50 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-1.8 ซม. ผิวมันเล็กน้อยเป็นกอ ใบรูปรี กว้างขนาด 8-12-4-5 ซม. ปลายแหลมมน แผ่นใบค่อนข้างหน้าและเหนียวคล้ายหนัง สีเขียวเข้ม ผิวมันทิ้งใบ้เมื่อผลิดอก ช่อดอกเกิดใกล้ยอดเป็นพวงห้อยลงขนาด 18-30*7-12 ซม. ดอกในค่อนข้างแน่น ก้านดอกยาว 4-5 ซม.ขนาดดอก 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากกลมสีเหลืองและขอบกลีบ มีขนนุ่มหยักละเอียด ดอกมีกลิ่นหอมดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อและทนได้ประมาณ 1สัปดาห์
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบมากตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน และอินเดีย
*พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518