กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งยังคงอุดม สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของพืชในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) จากรายงานพบว่าประเทศไทยเป็นแหล่งแพร่กระจายพันธุ์และมีความหลากหลายทางด้าน ชนิดพันธุ์ (species diversity) ของพืชในวงศ์กล้วยไม้จำนวนมากมาย
พืชวงศ์กล้วยไม้พบได้ตั้งแต่ ระดับพื้นดิน (terrestrial orchids) ไปจนกระทั่งบนเรือนยอดของพุ่มไม้(epiphyte orchids)บนเทือกเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 2,500 เมตรขึ้นไป เช่น ดอยอินทนนท์ เป็นต้น ปัจจุบันพบกล้วยไม้พันธุ์แท้ (species) ที่มีแหล่งแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศไทยมีจำนวนถึง 1,157 ชนิด ในสกุลที่ต่างกันถึง 176 สกุล และยังมีรายงานค้นพบชนิดใหม่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความสำคัญทางด้านแหล่งพันธุกรรมของพืช ในวงศ์กล้วยไม้ประเทศหนึ่งของโลก
ปัจจุบันปัญหา การนำกล้วยไม้ป่าออกมาจากป่าตามธรรมชาติเพื่อจำหน่ายหรือทำการค้าที่ผิด กฎหมาย (illegal trade) ทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศหรือลักลอบส่งออกไปยังต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการลดจำนวนประชากรของกล้วยไม้ป่าในธรรมชาติโดยตรง จนถึงปัจจุบันการค้ากล้วยไม้ป่ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา พบว่ามีปริมาณมากจนน่าตกใจ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยไม้ป่าออกนอกราชอาณาจักร จากสถิติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-พ.ศ 2540 มากถึง 2,491,564 ต้น (สองล้านสี่แสนเก้าหมื่นกว่าต้น) ดูตารางที่ 1 นอกจากการนำกล้วยไม้ป่าออกจากป่าตามธรรมชาติเพื่อทำการค้าแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมากมายที่มีผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อจำนวนประชากรของกล้วยไม้ป่าใน บ้านเราลดลงอย่างเห็นได้ชัด กล้วยไม้บางชนิดที่พบเห็นอยู่มากมายในอดีต กลับกลายเป็นของหาพบยากในปัจจุบัน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) บางชนิด เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum Rchb.f.) และฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindl.) เป็นต้น ที่ผ่านมากระแสการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ได้รับความ สนใจจากนานาประเทศ ในปี พ.ศ. 2515 ประเทศสมาชิกสหภาพระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (The International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources หรือ IUCN) ได้มีการประชุมพิจารณาแนวทางในการควบคุมสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศขึ้น ณ ประเทศสวีเดน ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าขึ้นเป็นครั้งแรก ในโลกของการค้าเสรี ต่อมาในปี 2516 จึงได้มีการประชุมและยกร่างระบบ ระเบียบการควบคุมการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่า “อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญ พันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือ CITES)” ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “อนุสัญญาไซเตส” ตามชื่อย่อของอนุสัญญาดังกล่าว ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯ ครบ 10 ประเทศทำให้อนุสัญญาฯ นี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิกหรือภาคีในอนุสัญญาไซเตส จำนวน 173 ประเทศ (กันยายน 2551)
A = Artificially Propagated (ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียมโดยมนุษย์)
W = Wild Collected (เก็บมาจากป่าตามธรรมชาติ)
ประ เทศไทยมีกฎหมายภายในเพื่อควบคุมการค้าและอนุรักษ์กล้วยไม้ป่ามิให้สูญพันธุ์ จำนวนหลากหลายฉบับ แต่กฎหมายเหล่านั้นเป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล การค้ากล้วยไม้ป่าที่ผิดกฎหมาย การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าที่แท้จริงจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าของประเทศไทยให้คง อยู่ให้อนุชนรุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์สืบต่อไป
กฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าและอนุรักษ์ พืชในวงศ์กล้วยไม้
ปัจจุบัน การค้าขายพืชในวงศ์กล้วยไม้ไม่ว่าท่านจะค้าขายภายในประเทศและส่งออกไปยัง ต่างประเทศปัจจุบันถูกควบคุมโดยกฎหมายภายในหลายฉบับ กฎหมายที่ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับพืชในวงศ์กล้วยไม้ควรจะต้องรู้จักและ รับทราบ มีดังนี้คือ
1. กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์
2. กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช
3. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน
4. กฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช
กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์
กล้วยไม้ป่าทุกชนิด จัดเป็น “ของป่าหวงห้าม” ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่า หวงห้าม พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 กฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเก็บหาของป่าหวงห้าม หรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่ของป่าหวงห้ามในป่า ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องเสียค่าภาคหลวงกับทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอ นุญาต (มาตรา 29) และผู้ใดนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ ต้องมีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไปด้วยตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 39) นอกจากนี้กฎหมายป่าไม้ยังได้บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ไดค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 29 ทวิ) สำหรับกล้วยไม้ป่าปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้สอยใน ครัวเรือนแห่งตน คือ 20 ต้น บทกำหนดโทษของกฎหมายป่าไม้ คือ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 มาตรา 29ทวิ และมาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชป่าไว้ในถิ่น เดิม (in situ conservation) อีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เป็นต้น
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ได้กำหนดคำนิยาม (มาตรา 3) คำว่า พันธุ์พืชป่าและพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ไว้ว่า “พันธุ์พืชป่า” หมายความว่า พันธุ์พืชที่มีหรือเคยมีอยู่ในประเทศตามสภาพธรรมชาติและยังมิได้นำมาใช้เพาะ ปลูกอย่างแพร่หลาย และ “พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป” หมายความว่า พันธุ์พืชที่กำเนิดภายในประเทศหรือมีอยู่ในประเทศ ซึ่งได้มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย และให้หมายความรวมถึง พันธุ์พืชที่ไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นหรือพันธุ์พืชป่า และในมาตรา 52 ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษาทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์ พืช ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกระทรวง ในที่นี้กล้วยไม้ป่าหรือกล้วยไม้พันธุ์ปลูกที่มีแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศ จะถูกควบคุมและคุ้มครองโดยกฎหมายฉบับนี้ กล่าวคือหากผู้ใดนำพันธุ์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อ ให้ได้พันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมาท่านจะต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผล ประโยชน์ให้รัฐก่อน เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายบังคับ บทลงโทษได้กล่าวไว้ในมาตรา 66 ว่าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในปัจจุบันทางภาครัฐกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาถึงความเหมาะสมในข้อกำหนด กฎเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์ให้รัฐ
สำหรับ พันธุ์พืชใหม่ ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) และสกุลแวนดา (Vanda) ที่เป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ ชัดเจน มีลักษณะคงที่ ขยายพันธุ์แล้วสม่ำเสมอ ท่านสามารถนำไปยื่นขอจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิทธิในพันธุ์นั้นๆ ได้ ณ กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2-940 7214 ซึ่งสิทธิในการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ในพืชวงศ์กล้วยไม้ มีอายุ 12 ปี หลังจากที่ได้รับสิทธิแล้ว
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน
พืชในวงศ์กล้วยไม้ทุกชนิด จัดเป็น “พืชอนุรักษ์” ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน ตามพันธกรณีต่ออนุสัญญาไซเตส ที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิก ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สาระสำคัญของพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม) มีดังนี้คือ
เพิ่ม เติมคำนิยามคำว่า พืชอนุรักษ์ โดยให้หมายถึงพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และกำหนดความหมายของคำว่า “การขยายพันธุ์เทียม” หมายความว่า การขยายพันธุ์ที่ไม่ใช่การขยายพันธุ์โดยธรรมชาติตามเกณฑ์และวิธีการที่ อธิบดีกำหนด (มาตรา 3)
ห้าม มิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก นำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
ผู้ ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้าให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือ เพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)
บท ลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ตรีและมาตรา 29 จัตวา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมาย ฉบับนี้เป็นกฎหมายบังคับ ควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน พืชอนุรักษ์ หรือซากของพืชอนุรักษ์ ซึ่งในที่นี้รวมถึงพืชในวงศ์กล้วยไม้ทุกชนิด ในปัจจุบันผู้ใดจะทำการนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่านพืชอนุรักษ์วงศ์กล้วยไม้ทุกชนิดหรือแม้กระทั่งซากไม่ว่าจะมี ชีวิตหรือซากที่ตายแล้วที่สามารถจำแนกออกได้ว่าเป็นพืชในวงศ์กล้วยไม้จะต้อง มีหนังสืออนุญาตไซเตส (CITES permit) กำกับสินค้าทุกครั้งถ้าไม่มีถือว่ามีความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ เช่นในกรณีที่จะส่งออกต้นกล้วยไม้ไปยังต่างประเทศ จะต้องขอหนังสืออนุญาตส่งออก (CITES export permit) จากกรมวิชาการเกษตร ก่อนทำการส่งออกดังนี้
ในกรุงเทพมหานคร ยื่นแบบคำขอได้ที่ฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 5687
ใน ต่างจังหวัดยื่นแบบคำขอได้ที่ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่ และด่านตรวจพืชเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ใน กรณีจะนำเข้าต้นกล้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องขอหนังสืออนุญาตนำเข้า (CITES import permit) ณ ด่านตรวจพืชทุกด่าน สังกัดกรมวิชาการเกษตรที่เปิดทำการเท่านั้น ที่สำคัญการขออนุญาตนำเข้าจะ ต้องแนบหลักฐานหนังสืออนุญาตไซเตสส่งออก (CITES Export permit) ของประเทศต้นทางฉบับจริงมาแสดงประกอบเป็นหลักฐานด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะออกหนังสืออนุญาตนำเข้าและอนุญาตให้นำเข้าได้
สำหรับ กรณีที่เป็นกล้วยไม้ลูกผสม (hybrid) ข้ามชนิด (intrageneric) และลูกผสมข้ามสกุล (intergeneric) ไม่ถือว่าเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 แต่เนื่องจากตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาไซเตสถือว่ากล้วยไม้ลูกผสมทุกชนิดยัง อยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญา ทำให้ประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสบางประเทศยังมีการควบคุมกล้วยไม้ลูกผสมอยู่ ดังนั้นเวลาส่งออกกล้วยไม้ลูกผสมไปยังต่างประเทศยังต้องถือปฏิบัติเช่นเดียว กับกล้วยไม้พันธุ์แท้ทุกประการ (แต่ไม่เป็นการบังคับ) ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้บริการออกหนังสือรับรองการส่งออกพืชลูกผสมพืชใน บัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสให้ โดยจะใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับหนังสืออนุญาตส่งออกไซเตส เพียงแต่ระบุประเภทของหนังสืออนุญาตเป็นหนังสือรับรองประเภทอื่นๆ (Other certificate) แทน
แต่ ปัจจุบันได้มีข้อยกเว้นเพิ่มเติม กล่าวคือ กล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมที่ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียม ในสกุล Cymbidium สกุล Dendrobium สกุล Phalaenopsis และสกุล Vanda ไม่ถือว่าเป็นพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
1. ตัวอย่าง สินค้านั้นจะต้องบรรจุอยู่ในหีบห่อ ได้แก่ กล่องกระดาษ กล่องหรือลัง โดยบรรจุกล่องๆ ละ 20 ต้น หรือมากกว่าขึ้นไป และเป็นกล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมชนิดเดียวกัน
2. ตัวอย่าง พืชในแต่ละกล่องจะต้องมีลักษณะที่ง่ายต่อการจำแนกออกได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ มาจากการขยายพันธุ์เทียม แสดงลักษณะถึงความสม่ำเสมอและมีสภาพสมบูรณ์ และ
3. ตัวอย่างสินค้านั้น มีเอกสารกำกับ ได้แก่ ใบรายการแสดงสินค้า เป็นต้น ระบุสำแดงจำนวนต้นต่อชนิดกล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมอย่างชัดเจน
และอีกกรณีหนึ่งคือ กล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมที่ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียม ในสกุลต่อไปนี้
1. สกุล Cymbidium (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน และลูกผสมข้ามสกุล)
2. สกุล Dendrobium (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน ประเภทประเภท nobile type และphalaenopsis type เท่านั้น)
3. สกุล Phalaenopsis (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน และลูกผสมข้ามสกุล)
4. สกุล Vanda (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน และลูกผสมข้ามสกุล)
ไม่ถือว่าจัดเป็นพืชภายใต้อนุสัญญาไซเตส ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
1. ตัวอย่างพืชเหล่านั้นค้าขายในลักษณะต้นพืชนั้นอยู่ในระยะการออกดอก ได้แก่ มีดอกบานให้เห็นอย่างน้อย 1 ดอก
2.. ตัวอย่างพืชเหล่านั้นอยู่ในกระบวนการพร้อมที่จะจำหน่ายปลีก ได้แก่ มีป้ายชื่อชัดเจนและบรรจุหีบห่อ เรียบร้อย
3. ตัวอย่าง พืชเหล่านั้นมีลักษณะการขยายพันธุ์เทียม บ่งบอกถึงลักษณะสะอาด ช่อดอกไม่ถูกทำลาย ระบบรากสมบูรณ์ ปกติ ไม่มีร่องรอยการถูกทำลาย มีลักษณะแตกต่างจากที่ได้มาจากป่า
4. ตัวอย่าง พืชนั้นปราศจากลักษณะที่เป็นของป่า ได้แก่ มีลักษณะถูกทำลายโดยแมลงศัตรูพืชหรือแมลงอื่นๆ ไม่มีเชื้อรา หรือสาหร่ายบนใบ หรือช่อดอก ราก ใบ หรือส่วนอื่นๆ ไม่มีร่องรอยความเสียหายที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการเก็บเกี่ยว และ
5. ตัวอย่าง พืชนั้น มีป้ายชื่อ หรือบรรจุหีบห่อ แสดงชื่อทางการค้า ประเทศต้นทางที่ขยายพันธุ์เทียม หรือในกรณีที่ทำการค้าระหว่างประเทศ กระบวนการจำหน่ายสินค้านั้น จะต้องมีป้ายบอกประเทศผู้ผลิต บรรจุหีบห่อ ป้ายชื่อพืช หรือมีรูปภาพประกอบ ทั้งนี้จะต้องดูออกได้ง่ายๆ ในกรณีที่ตัวอย่างพืชนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวโดยสมบูรณ์ จะต้องมีหนังสืออนุญาตไซเตสกำกับมาด้วย
พืชอนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้ตามกฎหมายฉบับนี้จัดแบ่งออกเป็น 2 บัญชี
พืชอนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้บัญชีที่ 1 ประกอบด้วยดังนี้
1. Aerangis ellisii เออแรงจิส เอลลิสซิไอ
2. Dendrobium cruentum เดนโดรเบียม ครูเอนตัม (เอื้องปากนกแก้ว)
3. Laelia jongheana เลเลีย จองเกียนา
4. Laelia lobata เลเลีย โลบาตา
5. Paphiopedilum spp. พาฟิโอเพดิลัม สปีชีส์(สกุลรองเท้านารีทุกชนิด)
6. Peristeria elata เพริสเตเรีย อีลาตา
7. Phragmipedium spp. แพรกมิพีเดียม สปีชีส์
8. Renanthera imschootiana รีแนนเธอรา อิมชูทเทียนา
พืช อนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้บัญชีที่ 1 ถ้าเก็บออกมาจากป่าตามธรรมชาติจะห้ามทำการค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ก็จะถูกควบคุมโดยเข้มงวดทั้งประเทศผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้า แต่ถ้าได้มาจากการขยายพันธุ์เทียมและมีการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยง เพื่อการค้าไว้กับกรมวิชาการเกษตรแล้ว จะอนุญาตให้ทำการค้าได้
สำหรับพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ในวงศ์นี้ ถ้าเป็นต้นอ่อนหรือที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อไม่ว่า จะอยู่ในอาหารแข็งหรืออาหารเหลวซึ่งขนส่งในภาชนะบรรจุที่ปลอดเชื้อ ไม่ถือว่าเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 สามารถทำการค้าได้โดยเสรี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศปลายทาง เช่นกัน ผู้ส่งออกจะต้องตรวจสอบข้อมูล เงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าไว้ด้วย
พืชอนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้บัญชีที่ 2
หมายถึง พืชในวงศ์กล้วยไม้ทุกชนิด (ORCHIDACEAE spp.) นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในบัญชีที่ 1 และยกเว้นข้อต่อไปนี้กฎหมายฉบับนี้จะไม่ควบคุม ดังนี้
1. เมล็ด และละอองเกสร (รวมถึงละอองเกสรที่มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นเมือก)
2. ต้นอ่อนหรือที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อไม่ว่าจะอยู่ในอาหารแข็งหรืออาหารเหลว ขนส่งในภาชนะที่ปลอดเชื้อ
3. ไม้ตัดดอกที่ได้จากต้นที่ขยายพันธุ์เทียม และ
4. ผลและส่วนของชนิดนั้นที่ได้จากต้นที่เกิดการขยายพันธุ์เทียมของทุกชนิดในสกุลVanilla spp. (วานิลลา สปีชีส์)
การขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้พันธุ์แท้เพื่อการค้า
ผู้ใดประสงค์จะทำการขยายพันธุ์เทียม (artificially propagated) กล้วยไม้พันธุ์แท้ (species) ทุกชนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า กฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้ ต้องขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า กับกรมวิชาการเกษตร สาระสำคัญการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า คือ
1. ต้องแจ้งแหล่งที่มาของพ่อ-แม่พันธุ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. ต้องคงจำนวนของพ่อ-แม่พันธุ์ ตลอดอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฯ ซึ่งมีอายุ 5 ปี และมีการต่ออายุใบสำคัญฯ
3. ต้องแจ้งวิธีการขยายพันธุ์เทียมให้ชัดเจน ได้แก่ เพาะเมล็ดหรือแบ่งกอ/แยกหน่อ หรือ ปั่นตา/เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
4. ต้องจัดทำรายงานปริมาณของต้นกล้วยไม้ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ สิ้นปีปฏิทิน
5. ห้ามนำกล้วยไม้ป่า (ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย) มาปะปนในสถานที่เพาะเลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนไว้
6. ต้องจัดระเบียบสถานที่เพาะเลี้ยงให้เป็นระเบียบ/เป็นสัดส่วน พร้อมที่จะได้รับตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่
สำหรับการขยายพันธุ์เทียม ตามกฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และข้อกำหนดตามประกาศกรมวิชาการเกษตร ดังต่อไปนี้
1. ต้องคงปริมาณของพ่อ-แม่พันธุ์ตลอดอายุการขึ้นทะเบียนใบสำคัญฯ
2. ต้องจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อการผลิตพันธุ์ เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ย การพรางแสง เป็นต้น
กล้วย ไม้ป่าทุกชนิดปัจจุบันจะไม่อนุญาตให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ยกเว้นได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้เท่านั้น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 5687
* ตรวจแบบคำขอนำเข้าพืชอนุรักษ์ (แบบ พ.พ. 13) และหลักฐานการนำเข้า เช่น CITES Export Permit,Phytosanitary Certificate, Certificate of Origin จากประเทศต้นทาง
หมายเหตุ ในกรณีขออนุญาตนำเข้าพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ ล่วงหน้า ให้ยื่นแบบคำขอ ณ กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เท่านั้น
กฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช
พืชในวงศ์ กล้วยไม้จัดเป็น “สิ่งกำกัด” ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าสินค้าประเภทกล้วยไม้พันธุ์แท้และรวมถึงกล้วยไม้ลูกผสม ด้วย เช่น ไม้ขวด ต้น ตา กิ่ง หน่อ ไม้ตัดดอก หรือฝัก เป็นต้น จะต้องมีหนังสือรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) ฉบับจริงจากประเทศต้นทางกำกับมาด้วยและจะต้องแจ้งการนำเข้าทุกครั้ง ณ ด่านตรวจพืชและวัสดุการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร ทางพนักงานเจ้าหน้าที่กักกันพืชหรือนายตรวจพืชจะทำการกักและตรวจสอบศัตรูพืช เบื้องต้นเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าเหล่านั้นปลอดจากโรคและศัตรูพืชทางด้าน กักกันพืช (Quarantine Pest) เสียก่อน จึงจะอนุญาตให้นำเข้าได้ ในกรณีที่นำเข้ากล้วยไม้เพื่อใช้ทำพันธุ์ปลูก สินค้ากล้วยไม้จะต้องถูกกักและตรวจสอบในขั้นละเอียด ณ สถานกักพืชก่อนประมาณ 7-15 วัน ถ้าหากไม่พบอาการโรคและศัตรูพืชใดๆ ทางพนักงานเจ้าหน้าที่กักพืชจึงจะอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรได้
ในการส่งออกพืชในวงศ์กล้วยไม้ไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะส่งออกในรูปใดๆ ได้แก่ ต้น (plant) หรือไม้ตัดดอก (cut flower) ปัจจุบันนอกจากจะมีกฎหมายควบคุมการนำเข้า ส่งออก แล้ว ยังมีกฎหมายและกฎระเบียบว่าด้วยการกักกันพืช (Plant Quarantine Regulation) และมาตรฐานสินค้าเกษตรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การส่งออกสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ประเทศปลายทางจะกำหนดให้มีใบรับรองปลอดศัตรู พืช (Phytosanitary Certificate) กำกับสินค้าไปด้วย บางประเทศจะเข้มงวดในการนำเข้าซึ่งบางครั้งจะต้องมีการตรวจรับรองพิเศษโดย ระบุข้อความในใบรับรองปลอดศัตรูพืช ผู้ส่งออกจึงควรติดต่อสอบถามไปยังประเทศที่ต้องการจะนำเข้าก่อนเป็นการล่วง หน้า เพื่อทราบเงื่อนไขต่างๆ ในการขออนุญาตนำเข้า (Import permit) ถ้าหากต้องการรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร บริเวณเกษตรกลางบางเขน กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2579 1581, 0 2940 6466 หรือด่านตรวจพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรได้ทุกด่านที่เปิดทำการ
สำหรับ การส่งออกสินค้าดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสิ้นค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 93) พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากกรมวิชาการเกษตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร โดยผู้ที่จะส่งออกดอกกล้วยไม้จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วย ไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรต่อกรมวิชาการเกษตร ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งดอกกล้วยไม้ไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ในการส่งออกนั้น ผู้ส่งออกจะต้องมีบัตรประจำตัวมาแสดงและ ติดป้ายหรือฉลากหรือประทับข้อความโดยระบุข้อความต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษให้ ชัดเจนที่ภาชนะบรรจุ ดังนี้
1. ชื่อและหมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
2. ชื่อพืชและพันธุ์
3. ชั้นและจำนวนช่อหรือน้ำหนักของสินค้า
4. ประเทศผู้ผลิต
นอก จากนี้ผู้ส่งออกจะต้องรายงานการส่งออกสิ้นค้าดังกล่าวให้กรมวิชาการเกษตร ทราบทุกๆ 30 วัน สำหรับการส่งออกเพื่อเป็นสินค้าตัวอย่าง หรือเพื่อใช้ส่วนตัว หรือการส่งออกโดยมิใช่เพื่อการค้า ซึ่งมีปริมาณไม่เกิน 5 กิโลกรัม สามารถส่งออกไปได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กรมวิชาการเกษตรได้กำหนด ไว้
บทสรุป
การ ประกอบการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้แก่ ผู้ปลูกเลี้ยงหรือผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้จำหน่ายปลีก ผู้จำหน่ายส่ง ผู้ส่งออก หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ซื้อ ผู้บริโภคเอง ผู้ประกอบการเหล่านี้ควรจะต้องศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ กล้วยไม้ซึ่งมีอยู่มากมายหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายของต่างประเทศให้เข้าใจชัดเจน และปฏิบัติให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นการกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อตัวของท่าน เอง เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และอาจได้รับโทษทางคดีอาญาด้วย โดยเฉพาะการผลิตกล้วยไม้เชิงธุรกิจ หรือเพื่อการค้า จะมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้เป็นการเบื้องต้นก่อน ทั้งเทคโนโลยีการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การตลาด ประเด็นสำคัญก็คือ กฎ ระเบียบการนำเข้าส่งออก กฎหมายภายใน กฎหมายของประเทศคู่ค้า รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งนับวันจะมีข้อกำหนดต่างๆ ไว้มากมาย
ในอดีตที่ผ่านมาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรกล้วยไม้ป่าในประเทศไทย มีการนำออกมาใช้ประโยชน์ กันอย่างมากมาย การซื้อและการขายกล้วยไม้ป่าเราไม่ควรสนับสนุน เห็นควรมีการส่งเสริมและการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าโดยนำมา ใช้ประโยชน์แบบยั่งยืน (sustainable use) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรกล้วยไม้ป่าให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น