วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เอื้องครั่งแสด Dendrobium unicum Seid.


ชื่อภาษาไทย : เอื้องครั่งแสด เอื้องสายสีแสด
ชื่อภาษาอังกฤษ :  unicum Seid.
แหล่งกำเนิด :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย ชัยภูมิ
ภาคเหนือ : เชียงใหม่
การกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว
ลักษณะการเกิด : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง อาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ในป่าดิบเขา
ลักษณะทั่วไป : ลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกเป็นสัน ยาวประมาณ 25 – 60 ซม. ใบเรียว ปลายใบแหลม ใบยาวประมาณ 5 – 8 ซม.
กว้างประมาณ 1 – 21 ซม. ออกดอกเป็นช่อ ที่ข้อของลำลูกกล้วย แต่ละช่อมีประมาณ 1 – 4 ดอก กลีบทุกกลีบสีส้มแดง โคนกลีบสีขาว
กลีบดอกและกลีบเลี้ยงแคบ ยาวเรียว มีความกว้างไล่เลี่ยกันและกลีบมีลักษณะม้วนโค้งออก กลีบปากสีครีม โคนกลีบปากม้วนขึ้นเป็นหลอด
ปลายกลีบแผ่ออก มีเส้นสีน้ำตาลอมแดงตามความยาวของกลีบปาก ขอบของกลีบปากเรียบ
ระบบราก : รากดิน
ฤดูดอกบาน : เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน
    ที่มาของข้อมูล http://www.tjorchid.com/

เอื้องกุหลาบแดง Aerides crassifolia

เอื้องกุหลาบแดง Aerides crassifolia


                                                                
        เมื่อ เรามาลองเอ่ยถึงคำว่า กุหลาบแดง หลาย ๆ คนคงนึกโยงไปถึงกุหลาบสีแดงที่เป็นเครื่องหมายแห่งของวันความรักในวันวาเลน ไทน์ ผิดแล้วครับ วันนี้เราจะมาเอ่ยถึงกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า กุหลาบแดง กัน
      Aerides crassifolia เป็น ชื่อวิทยาศาสตร์สกุลกุหลาบของกล้วยไม้ชนิดนึ้ เรารู้จักกันในนาม เอื้องกุหลาบแดง หรือเรียกกันห้วนๆว่า กุหลาบแดง กล้วยไม้ชนิดนี้เติบโตและกระจายสายพันธุ์เกือบทุกภาคพื้นที่ของป่าในประเทศ ไทยเรา เอื้องกุหลาบแดง มักขึ้นตามคาคบไม้สูง แต่บางครั้งเราก็พบว่ามันชอบเติบโตบนกิ่งก้านต้นไม้ที่ต่ำเพียงมือเอื้อมถึง เช่นกัน
      ด้วย สีสันที่แดงจัดจ้านสมชื่อของมัน เอื้องกุหลาบแดง จึงเป็นกล้วยไม้สกุลกุหลาบอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมกล้วยไม้ มากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ด้วยลักษณะทรงช่อที่ตีห่างไม่สมส่วนกับจำนวนดอกบนก้านช่อ เอื้องกุหลาบแดง จึงไม่เป็นที่นิยมในด้านการพัฒนาสายพันธุ์
         ลักษณะ พิเศษประจำสกุลของ เอื้องกุหลาบแดง คือ มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ลำต้นเตี้ยล่ำ ใบใหญ่สั้นหนาสีเขียวปนแดง สีแดงจะเข้มขึ้นในช่วงแห้งแล้ง ใบกว้างราว 1.5-2.0 เซนติเมตร ยาวราว 10-18 เซนติเมตร ผิวใบอาจย่นตามขวางของใบ ใบเรียงสลับระนาบเดียว ลำต้นเจริญทางปลายยอด ช่อดอกโค้งลงยาวใกล้เคียงกับใบ มีดอกช่อละ 10-20 ดอก ขนาดดอกกว้าง 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีชมพู-ม่วงแดง ส่วนปากดอกสีเข้ม กลีบในบิดไปด้านหลัง ดอกมีกลิ่นหอม บานช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ลักษณะเด่น คือกลีบดอกนอกคู่ล่างกว้าง ปากแบะยื่น เดือยดอกยาว เห็นชัดเจน ปลายเดือยงอนขึ้น และไม่อยู่ใต้ปลายปาก เอื้องกุหลาบแดง พบตามธรรมชาติ ในป่าแล้งภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคตะวันออกของไทย รวมทั้งจังหวัดนครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในประเทศ พม่า ลาว และเวียดนาม