วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เอื้องไอยเรศ




ชื่อชาวกล้วยไม้เรียก : ไอยเรศ (สกุลช้าง)
ชื่อวิทย์ : Rhynchostylis retusa (L.) Blume
การกระจายพันธุ์ : พบในหลายพื้นที่ ไทย เขมร พม่า ลาว
ลักษณะ : กล้วยไม้รากอากาศ มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คนจมูกไม่ดีไม่ได้กลิ่นแน่ ๆ
ลักษณะดอก : เป็นช่อ ดอกห้วยหัวลงมา ดอกเล็ก ๆ 
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ , เพาะเมล็ดโดยการส่งแลป , ปั่นตา ฯลฯ

            เอื้องไอยเรศ เป็นกล้วยไม้ในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchostylis retusa (L.) Blume มีลักษณะมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ?พวงมาลัย? ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์  ฤดูกาลออกดอกอยู่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย
เอื้องไอยเรศมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างไม่ว่า ไอยเรศ, เอื้องพวงหางรอก, เอื้องหางฮอก, เอื้องไอยเรศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น