วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แมลงและศัตรูกล้วยไม้

 มด

          มด ความจริงแล้วมันก็ไม่ได้ทำอันตรายอะไรกับกล้วยไม้โดยตรง แต่มันจะคาบเอาเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง มาสู่ต้นกล้วยไม้ของเรา บางครั้งสำหรับกล้วยไม้ดินซึ่งนิยมใช้มะพร้าวสับเป็นเครื่องปลูก มดก็ชอบไปทำรังในกระถาง รบกวนระบบรากของกล้วยไม้ของเราจึงมีความจำเป็นต้องกำจัดมันซะ การกำจัดมดทำได้โดยใช้คาบาริล





เพลี้ยแป้ง (Mealy bug)

          เพลี้ยแป้งตัวเต็มวัยตัวเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. สีเหลืองอ่อน ลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟองบนผล กิ่ง และใบ ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 - 10 วัน จึงจะออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองและไม่มีผงสีขาว จะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมที่จะกินอยู่ ตัวเมียจะมีการลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง ด้วยกันและไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายหลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ภายในเวลา 1 ปี เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 - 3 รุ่น ในระยะที่ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น รากหญ้าแห้วหมู โดยมีมดซึ่งอาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำไป

ไรแดง หรือ แมงมุมแดง

        ไรแดง (Red mite) ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. Oligonychus sp. 2. Tetranychus sp. รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ไรแดงเป็นไรที่มีขนาดโตกว่าไรศัตรูพืชในวงศ์อื่น ๆ มองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นจุดเล็ก ๆ สีแดง เคลื่อนไหวไปมาบนใบพืช เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุดเล็กน้อย ตัวเมียขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลำตัวอ้วนกลม

หอยทาก


     หอยตระกูลหอยทากมีอยู่หลายชนิดที่เป็นศัตรูสำคัญของชาวกล้วยไม้ พวกนี้มักจะหลบซ่อนตัวอยู่ในเครื่องปลูกที่ชื้นๆ หรือที่ที่มีความชื้นสูงๆ มีทั้งขนาดเล็กจิ๋ว จนถึงขนาดใหญ่ 


จะออกมาทำลายกล้วยไม้ช่วงหลังฝน หรือกลางคืนที่มีอากาศชื้น พอแดดออกก็จะหลบไปหาที่ชื้นๆอยู่ 
มันกินทั้งราก ตาดอก ตาหน่อ ใบ ดอก แถมปราบยากอีกต่างหาก 

แพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ผู้ส่งออกต้นกล้วยไม้กลัวนักกลัวหนา เพราะถ้าตรวจพบแม้แต่เพียงตัวเดียว ด่านกักกันพืชปลายทางจะเผาทิ้งทั้งล็อต 




 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น