วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ราชินีกล้วยไม้ไทย


                  ในบรรดากล้วยไม้ป่าที่มีกำเนิดในประเทศไทย หากนับเฉพาะที่มีชื่อเสียงรู้จักทั่วไปทั้งระดับประเทศและระดับโลก เพราะมีความงามเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว และมีคุณค่าด้านเป็นพ่อแม่พันธุ์พัฒนาเป็นกล้วยไม้สายพันธุ์ใหม่ๆ ต่อมาอีกมากมาย กล้วยไม้ป่าดั้งเดิมของไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องรวมกล้วยไม้ที่คนไทย เรียกว่า ฟ้ามุ่ย อยู่ด้วยอย่างแน่นอน

ฟ้ามุ่ย : ความงามจากป่าสู่ความเป็นสากล
           ฟ้ามุ่ย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vanda coerulea Griff. ex Lindle. อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ คือ Orchidaceae เป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า

           ใบ แบนลักษณะใบค่อนข้างกว้างกว่าแวนด้าชนิดอื่น ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ใบซ้อนเรียงสลับกัน


           ดอก ช่อ ดอกตั้งตรงยาวประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ออกดอก 5 - 15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนถึงฟ้าแก่ (ฟ้าเกือบขาวถึงม่วงแดง) บนกลีบมีลายตารางสีเข้มกว่าสีพื้น ปากเล็กหูปากแคบโค้งปลายมน ที่ปลายมี 2 ติ่ง เส้าเกสรเบื้องบนสีขาว ขนาดดอก 7-10 เซนติเมตร บานทน ออกดอกระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม
                     ความงดงามโดดเด่น ของฟ้ามุ่ย ทำให้ถูกยกย่องว่าเป็นกล้วยไม้ป่าที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยได้รับการตัดสินเป็นกล้วยไม้ยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์ กล้วยไม้หอม เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น